วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

โปรโตคอลสำหรับรับส่งอีเมล

โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลด้านอีเมลบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตประกอบด้วยSMTP
SMTP(simple message transfer protocol)ทำหน้าที่ส่งอีเมลเซิร์ฟเวอร์ของผู้ส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ของผู้รับจากกรณีตัวอย่าง
ในการส่งและรับอีเมลการทำงานของ application protocolDNS (Domain Name Server)

DNS (Domain Name Server )กลไกการทำงานของ DNS มีขั้นตอนอย่างง่ายๆ ดังรูปที่ 1 โดยในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ซึ่งมีอยู่มากและยังมีโปรโตคอลพิเศษคอยทำหน้าที่ต่างๆอยู่เบื้องหลังด้วย เช่น โปรโตคอล ARP ช่วยแปลงค่า IP address เป็นค่าฮาร์ดแวร์ เป็นต้น ตามรูปการทำงานของ DNS มีขั้นตอนที่สามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) ที่มี domain เป็น abccompany.com ต้องการติดต่อกับเว็บไซต์ที่ชื่อ www.xyz.com ดังนั้นเครื่องไคลเอนด์นี้ จะส่งคำสั่งขอข้อมูลหมายเลข IP address ด้วยกลไก resolver ไปที่ DNS server ที่ดูแล zone ของตนอยู่ คือ domain abccompany.com ในกรณีนี้สมมุติว่าฐานข้อมูลที่มีใน DNS server ไม่มีข้อมูลหมายเลข IP address ของ www.xyz.com ทั้งนี้เพราะ DNS server ของ zone abccompany.com จะดูแลฐานข้อมูลเฉพาะเครื่องลูกข่ายตนเอง ดังนั้น DNS server นี้ก็จะส่งคำสั่งขอข้อมูลต่อไปยัง DNS server ที่อยู่ระดับบนกว่า ซึ่งได้กำหนดเอาไว้ให้เป็นเครื่อง DNS server ของบริษัทผู้ให้บริการ ISP นั่นเอง 2. เมื่อ DNS server ของ abc.company.com ส่งคำสั่งขอข้อมูลต่อไปยัง DNS server ของบริษัทผู้ให้บริการ ISP แล้ว เครื่อง DNS server ของ ISP ก็จะค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลของตนเช่นเดียวกัน ในกรณีนี้สมมุติว่ายังไม่มีข้อมูล IP address ของ www.xyz.com อีกเหมือนกัน เครื่อง DNS server ของบริษัท ISP จะส่งคำสั่งขอข้อมูลต่อออกไปยังเครื่อง DNS server ในระดับบนขึ้นไปอีกซึ่งก็ได้มีการกำหนดไว้ว่าเป็นเครื่อง root server 3. เมื่อ DNS server ของ abc.company.com ส่งคำสั่งขอข้อมูลต่อไปยัง DNS server ของบริษัทผู้ให้บริการหรือ ISP แล้ว เครื่อง DNS server ของISP ก็จะค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลของตนเช่นเดียวกัน ในกรณีนี้สมมุติว่ายังไม่มีข้อมูล IP address ของ www.xyz.com อีกเหมือนกัน เครื่อง DNS server ของ ISP จะส่งคำสั่งขอข้อมูลต่อออกไปยังเครื่อง DNS server ในระดับบนขึ้นไปอีก ซึ่งก็ได้มีการกำหนดไว้ว่าเป็น root server 4. คำสั่งขอข้อมูลถูกส่งต่อไปยัง DNS server ของ root เพราะดูแลฐานข้อมูลของ domain name ในระดับสอง (.com) 5. ที่ DNS root server แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลหมายเลข IP address ของ www.xyz.com ก็ตาม แต่มีข้อมูลที่ทราบว่า DNS server ที่ดูแล zone ของ domain xyz.com อยู่ที่ใด (มีหมายเลข IP address อะไร) DNS root server ก็จะส่งข้อมูลดังกล่าวไปให้ เพราะที่เครื่อง DNS SERVER ที่ดูแล domain xyz.com จะต้องมีข้อมูลของ IP address ของ www.xyz.com อยู่แน่นอน 6. DNS server ของ ISP จะรับข้อมูล IP address ของเครื่อง DNS server ที่ดูแล zone ของ domain xyz.com เป็น 192.183.255.20 และแจ้งต่อไปให้ DNS server ที่รับผิดชอบ domain xyz.com อีกทีหนึ่ง ในขั้นนี้เครื่อง DNS server ของบริษัท ISP จะเก็บค่าคำตอบเอาไว้ในหน่วยความจำแคชเพื่อใช้กรณีที่มีการเรียกข้อมูลซ้ำอีกในอนาคต จะได้ส่งคำตอบไปให้เลยโดยไม่ต้องไปขอข้อมูลซ้ำอีก ค่าที่เก็บเอาไว้จะมีระยะเวลาที่ต้องปรับปรุงข้อมูลใหม่ตามค่าในฟีลด์ TTL ที่กำหนดไว้ใน resource record 7. DNS server ของบริษัท abccompany.com จะรับข้อมูลหมายเลข IP address ของเครื่อง DNS server ที่ดูแล zone ของ domain xyz.com ตามที่เครื่อง DNS server ของ ISP ส่งมาให้ และเก็บลงหน่วยความจำแคชของตนเองเช่นกัน เผื่อมีการเรียกใช้อีกในอนาคต แล้วส่งคำสั่งไปถามข้อมูลว่าเครื่อง www.xyz.com อยู่ที่ไหน (มีหมายเลข IP address อะไร) 8. DNS server ของ domain xyz.com ตรวจสอบข้อมูลและแจ้งว่าเครื่อง www.xyz.com อยู่ที่ IP address 192.186.255.26 ข้อมูลถูกส่งกลับไปให้เครื่อง DNS server ของ abccompany.com 9. คำตอบที่ DNS server ของ abccompany.com ได้รับจะถูกส่งต่อให้กับเครื่องไคลเอนต์ที่ต้องการและก็จัดเก็บข้อมูลลงหน่วยความจำแคชเช่นกัน 10. เมื่อเครื่องลูกข่ายทราบว่า www.xyz.com มีหมายเลข IP address อยู่ที่ 192.183.255.26 ก็จะติดต่อกับเครื่อง www.xyz.com โดยถ้าใช้งานเว็บก็จะสร้างการเชื่อมต่อโดยโปรโตคอล HTTP และใช้งาน port 80 เพื่อเรียกดูข้อมูลในเว็บไซต์นั้นต่อไป ตามกลไกลของ TCP/IP อาจมีผู้สงสัยว่าในการทำงานของ DNS server ทั้งหลายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นมีวิธีการจัดการอย่างไร ซึ่งสามารถอธิบายได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนดังกล่าวที่ผ่านมา ซึ่งจะเห็นว่า DNS server จะถูกจัดลำดับในการดูแลฐานข้อมูลแยกกันตามกลุ่ม โดยแบ่งลำดับชั้นให้สอดคล้องกับการกำหนดชื่อ domain และในแต่ละลำดับของ DNS server นี้จะทราบว่าถ้าต้องการติดต่อขอข้อมูลจากลำดับบนขึ้นไปจะติดต่อได้จากหมายเลข IP address อะไร โดยในชั้นบนสุดเป็น root ที่จะดูแลข้อมูลของ domain ลำดับที่สองและย่อยลงไปตามชั้น และแต่ละเซิร์ฟเวอร์ที่ดูแล domain ของตนก็จะเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์นั้นมีสิทธิ์ในการรับผิดชอบ zone ของตนเอง การลงทะเบียนขอชื่อ Domain Name แหล่งข้อมูล
http://http//61.19.44.123/E-learning/datacom/UNIT10.HTMFTP ( File Transfer Protocal) วิธีการทำงานของ FTP Ftp ทำงานในแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยพัฒนาขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน TCP ซึ่งจะต้องมีการติดต่อเพื่อจองช่องสื่อสาร (Connection Establishment) ก่อนทำการสื่อสารจริง ซึ่งเรียกว่าเป็นการติดต่อแบบที่ต้องขอเชื่อมต่อก่อน (Connection - Oriented) ในการใช้งาน FTP เพื่อเริ่มการติดต่อสื่อสารนั้น จะต้องระบุหมายเลข IP ปลายทาง และต้องผ่านการแจ้งรหัส Login และ Password ของเซิร์ฟเวอร์ที่จะติดต่อก่อนจึงจะเข้าใช้งานได้ ข้อมูลของ FTP ที่สื่อสารระหว่างกันมี 2 ประเภทคือ • ข้อมูล(Data) หมายถึงข้อมูลต่างๆที่ต้องการรับส่ง รวมทั้งไฟล์ที่รับมาจากเซิร์ฟเวอร์ หรือส่งมาจาก ไคลเอนต์แล้วไปเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ • ข้อมูลคำสั่ง (Command) FTP จะมีคำสั่งที่ใช้สั่งงานต่างๆ เช่น dir เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงชื่อไฟล์หรือไดเรคทอรีในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรือ get ใช้โหลดไฟล์มาที่เครื่องไคลเอนต์ผ่านโปรแกรม FTP แล้วโปรแกรมจะส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำงาน และแจ้งผลการทำงานกลับมายังไคลเอนต์ ซึ่งผลการทำงานนี้จะนำหน้าด้วยตัวเลข 3 หลัก เป็นรหัสที่ใช้แสดงสถานะการทำงานภายในของ FTP และต่อด้วยข้อความที่เป็นเท็กซ์ต่อท้าย ซึ่งก็คือผลการทำงานหรือคำอธิบายต่างๆ โดยที่ FTP มีกระบวนการภายในที่จะตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่จะรับส่งนี้เป็นประเภทคำสั่งไม่ใช่ตัวข้อมูลที่ต้องการจะโอนย้าย การที่ FTP สามารถแยกแยะข้อมูลจริงออกจากข้อมูลที่เป็นคำสั่งได้นั้น ถือว่าเป็นหน้าที่การทำงานของโมดูลใน FTP ที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol Interpreter Module หรือ PI) ซึ่งทำหน้าที่รองรับการทำงานคำสั่งต่างๆของ FTP และในส่วนของข้อมูลที่รับส่งนั้นจะเป็นหน้าที่ของโมดูลโอนข้อมูล (Data Transfer หรือ DT) ซึ่งโมดูลทั้งสองนี้จะต้องทำงานอยู่ทั้งในเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์

รูปการทำงานของ Protocal FTP จากรูปแสดงถึงองค์ประกอบและกลไกการทำงานของโปรโตคอล FTP จะเริ่มจากผู้ใช้ (USER) เรียกใช้โปรแกรมผ่าน User Interface และ เมื่อเป็นโปรแกรม FTP พร้อมใช้งานแล้ว ถ้ามีการใช้คำสั่งต่างๆของFTPจะเป็นหน้าที่ของ PI (Protocol Interpreter module) ทำหน้าที่แปลคำสั่งและทำงานตามคำสั่ง ในกรณีที่มีการส่งรับข้อมูลก็จะเป็นหน้าที่ของ DT (Data Transfer module) ซึ่งโมดูล PI และDTนี้จะอยู่ทั้งด้านของไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ FTP เป็นเครื่องมือในการโอนไฟล์ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมที่สุด โดยกำเนิดมาจากการเป็นคำสั่งพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ Unix และแพร่หลายอยู่ในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS, Windows 95, Windows 98 หรือแม้แต่ Windows NT ก็ตาม ซึ่งคุณสมบัติของ FTP ก็คือสามารถโหลดไฟล์มาจากเซิร์ฟเวอร์ ( download ) หรือส่งไฟล์ไปเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ ( upload ) ได้ แต่ในการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้มักจะใช้เพื่อโหลดไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์เสียเป็นส่วนใหญ่ วิธีการทำงานของ FTP วิธีที่ 1 : ใช้ File Manager ใน Control Panel ผู้ให้บริการ Web Hosting ทุกรายมีระบบ Control Panel เช่น cpanel, direct admin หรือ plesk ผู้ใช้จะได้รับ e-mail แจ้งว่าเข้าใช้ Control Panel ได้อย่างไร และจะพบกับ File Manager ที่ทำให้ท่านเข้าไปจัดการกับระบบแฟ้ม และห้องต่าง ๆ ได้ รวมถึงการส่งแฟ้ม หรือนำแฟ้มออกมาจากเครื่อง เป็นต้น วิธีที่ 2 : ใช้ DOS FTP on Command Line ในคอมพิวเตอร์ทุกระบบปฏิบัติการ มักมีโปรแกรม FTP ที่ทำงานใน Text Mode ท่านสามารถพิมพ์คำสั่ง ftp ตามด้วยชื่อ Host เพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องบริการ และส่งแฟ้มได้ทันที ตัวอย่างคำสั่งอยู่ท้ายสุดของเว็บเพจหน้านี้ วิธีที่ 3 : FTP Client Program ต้อง Download โปรแกรม เช่น filezilla หรือ ws_ftp32 เป็นต้น มาติดตั้งในคอมพิวเตอร์ แล้วกำหนดชื่อโฮส ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน โปรแกรมจะเข้าเชื่อมต่อกับเครื่องบริการ จากนั้นผู้ใช้ก็เลือกแฟ้มที่จะส่ง หรือรับ กับเครื่องบริการได้โดยสะดวก แหล่งข้อมูล
http://catadmin.cattelecom.com/km/blog/kittichonm/category/uncategorized/ftp-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3/Telnet หรือ SSH Telnet คือ เครื่องมือพื้นฐาน ที่ใช้สำหรับติดต่อกับเครื่อง Server ที่เป็น UNIX หรือ LINUX เพื่อใช้เข้าไปควบคุมการทำงานของเครื่อง หรือใช้อ่าน mail หรือใช้ปรับปรุง homepage หรือใช้เรียกโปรแกรมประมวลผลใด ๆ หรือใช้พัฒนาโปรแกรมและใช้งานในเครื่องนั้น เป็นต้น เพราะระบบ UNIX หรือ LINUX จะยอมให้ผู้ใช้สร้าง application ด้วย Compiler ภาษาต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ และเชื่อมต่อกับ Internet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ Internet เริ่มต้นมาจากระบบ UNIX นี้เอง ประโยชน์อย่างหนึ่งที่ผู้ใช้โปรแกรม Telnet มักคุ้นเคย คือการใช้โปรแกรม PINE ซึ่งมีอยู่ใน Telnet สำหรับรับ-ส่ง mail และมีผู้ใช้อีกมากที่ไม่รู้ตัว ว่าตนเองกำลังใช้งาน UNIX อยู่ ทั้ง ๆ ที่ใช้ PINE ติดต่องานอยู่ทุกวัน เดิมที่ระบบ UNIX ไม่มีโปรแกรม PINE แต่มีนักศึกษาที่มหาวิทยาลัย WASHINGTON University เพราะใช้ง่ายกว่าการใช้คำสั่ง mail ในการรับ-ส่งมากแต่ผู้ใช้ที่ใช้ E-Mail กับเครื่อง UNIX หรือ LINUX ซึ่งใช้ตามมาตรฐาน IMAP มักเป็นกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ที่มหาวิทยาลัยได้ให้บริการ E-Mail ซึ่งมีข้อจำกัดบางประการ และหลายมหาวิทยาลัยเช่นกันที่ทำฐานข้อมูล Mail ใน UNIX และให้บริการ Mail ผ่าน browser ได้ ซึ่งเป็นหลักการที่ผู้ให้บริการ mail ฟรีหลายแห่งใช้กันอยู่ สำหรับโปรแกรม Telnet ผู้ต้องการใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องไป download เพราะเครื่องที่ทำการติดตั้ง TCP/IP จะติดตั้งโปรแกรม telnet.exe ไว้ในห้อง c:\windows เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ได้อยู่แล้ว แต่ปัญหาหนักอยู่ที่วิธีการใช้ เพราะระบบ UNIX เป็นการทำงานใน Text mode เป็นหลัก การจะใช้คำสั่งต่าง ๆ ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้มาก่อน จึงจะใช้งานได้ในระดับที่พึ่งตนเองได้ มิเช่นนั้นก็จะเหมือน คนตาบอดเดินอยู่กลางถนน หากใช้คำสั่งไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาทั้งกับตนเอง และระบบได้ แหล่งข้อมูล http://www.thaiall.com/internet/internet03.htmlHTTP ( Hyper Text Transfer Protoco)l HTTP ย่อมาจาก Hyper Text Transfer Protocol ใช้ในการติดต่อรับส่งข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์(Hypertext) ระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ WWW Server (World Wide Web) โดยที่เอกสารนี้จะอยู่ในรูปแบบที่เขียนในภาษา HTML (HyperText Markup Language) เอกสารแต่ละชิ้น จะสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารชิ้นอื่นได้ ซึ่งเอกสารที่ถูกเชื่อมโยงนี้ อาจจะอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน หรือต่างเครื่องกันก็ได้ แหล่งข้อมูล http://www.bwc.ac.th/pan/m5site/web_site/513/network_computer/CHAPTER/c2_1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น